วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่16


สงครามเวียดนาม 

เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้ ความขัดแย้งจึงกลายสงครามตัวแทนในช่วงสงครามเย็น ระหว่างกองกำลังเวียดนามใต้นิยมประชาธิปไตยที่มีสหรัฐสนับสนุนกับกองกำลังนิยมเวียดนามเหนือนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตหนุนหลัง

ภูมิหลังสงครามเวียดนาม


          เวียดนามเคยป็นเมืองขึ้นของจีนสมัยโบราณกว่าร้อยปี จึงรับอิทธิพลความเชื่อลัทธิขงจื๊อและวัฒนธรรมจีนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของตน ต่อมาในคริสต์สตวรรษที่ 18-19 ฝรั่งเศสขยายอำนาจมายึดครองเวียดนาม กัมพูชาและลาว รวมเรียกว่าอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมาได้มีขบวนการชาตินิยมเรียกร้องเอกราชแต่ถูกฝรั่งเศสปราบปรามอย่างรุนแรง ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก แต่มีผู้นำคนสำคัญที่สามารถนำความสำเร็จมาให้ขบวนการชาตินิยมเวียดนามหรือเวียดมินห์ คือ โฮชิมินห์

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังชาตินิยมเวียดมินห์ให้การสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรโดยหวังจะได้เอกราชเป็นการตอบแทน แต่ฝรั่งเศสไม่ยินยอมและกลับมาครอบครองอินโดจีนอีกครั้งหลังสงครามโลก ทำให้เกิดการสู้รบกันตั้งแต่ ค.ศ. 1946 และสิ้นสุดลงในค.ศ 1954 เมื่อฝรั่งเศสแพ้ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู มีการทำสัญญาสงบศึกที่ปารีส ฝรั่งเศสถอนตัวจากอินโดจีน มีผลให้ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชาได้รับเอกราช และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อรวมเวียดนาม แต่ขณะที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง ให้แบ่งเวียดนามเป็นสองส่วนที่เส้นขนานที่ 17 เวียดนามเหนือนำโดยโฮชิมินห์ ศูนย์กลางอยู่ที่ฮานอยและเวียดนามใต้ นำโดยกษัตริย์เบาได๋ ศูนย์กลางอยู่ที่ไซ่ง่อน

สหรัฐอเมริกากับสงครามเวียดนาม

          การแทรกแซงของสหรัฐเริ่มต้นต่างจากการเข้าสู่สงครามเกาหลี เนื่องจากปัญหาการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรวมชาติเวียดนาม เพราะเกรงว่าชาวเวียดนามจะเลือกโฮชิมินห์ ซึ่งเป็นวีรบุรุษกู้ชาติเวียดนามทั้งสองส่วนมีวิถีชีวิตต่างกันและนิยมความคิดทางการเมืองไม่ตรงกัน  เวียดนามเหนือส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรยากจน เสียเปรียบเจ้าของที่ดิน จึงนิยมคอมมิวนิสต์ ทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่รบกับฝรั่งเศส สื่งที่สำคัญคือ ความนิยมในตัววีรบุรุษ ผู้นำขบวนการชาตินิยมคือ โฮชิมินห์  หากมีการเลือกตั้งประชาชนทั่วไปมีแนวโน้มจะเลือกโฮชิมินห์ วีรบุรุษของตน โดยไม่สนใจลัทธิการเมือง สหรัฐจึงเข้ามาสนับสนุนเวียดนามใต้แทนฝรั่งเศส เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เพราะเกรงว่าผู้นิยมคอมมิวนิสต์จะได้ชัยชนะและทำให้เวียดนามเป็นคอมมิวนิสต์ การยกเลิกการเลือกตั้งประธานาธิบดีทำให้เวียดนามเหนือประกาศสงครามกับเวียดนามใต้อีกครั้ง เพื่อใช้กำลังรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน สหรัฐมีความเชื่อฤษฎีโดมิโน คือ เมื่อชาติหนึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ชาติที่อยู่ใก้ลเคียงจะถูกคุกคามและตกอยู่ในอิทธิพลคอมมิวนิสต์ด้วย เช่นเดียวกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันออก  จึงเข้ามาปกป้องประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มิให้เป็นไปตามนโยบายวาทะทรูแมนและแผนการมาร์แชล

          สหรัฐอเมริกาเริ่มส่งที่ปรึกษาทางทหารและส่งอาวุธยุทธปกรณ์ เพื่อพัฒนากองทัพให้กับเวียดนามใต้ ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีไอเซ็นเฮาว์และประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ต่อมาเมื่อเคเนดีเสียชีวิตจากการลอบสังหารที่ดัลลัส เท็กซัส รองประธานาธิบดีจอห์นสันได้รับตำแหน่งผู้นำสหรัฐแทน ได้ส่งกำลังพลนับแสนคนพร้อมอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง  เข้ามาสกัดกั้นการคุกคามของคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม ทำให้สงครามเวียดนามขยายตัวและรุนแรงมากขึ้น นับแต่ ค.ศ. 1965 เป็นต้นมา

          ฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือมีกองทัพเวียดมินห์  สำหรับการรบเต็มรูปแบบและมีขบวนการเวียดกง เป็นประชาชนทั่วไปที่นิยมคอมมิวนิสต์หรือถูกบังคับให้เป็นคอมมิวนิสต์ ปฏิบัติการแทรกซึมและบ่อนทำลายอยู่ทั่วไปในเวียดนามใต้ ทำให้ยากต่อการปราบปราม และทำให้สื่อต่าง ๆเสนอภาพเสมือนทหารสหรัฐรังแกประชาชนเวียดนามที่อ่อนแอกว่า

          ในช่วงแรกของสงคราม เวียดนามเหนือได้ใช้ยุทธวิธียกกำลังทำสงครามเต็มรูปแบบกับกองทัพสหรัฐ บุกเข้ามาใต้เส้นขนานที่ 17 และสังหารประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แม้จะไม่ได้ชัยชนะแต่ทำให้ชาวเวียดนามใต้เกิดความเกรงกลัวอำนาจของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนืออย่างมาก จึงมักยอมเข้ากับ เวียดนามในฐานะกองกำลังเวียดกง ปฏิบัติการแทรกซึม บ่อนทำลายในเวียดนามใต้

          สหรัฐและพันธมิตรในองค์การ SEATO ได้ระดมความร่วมมือทางทหารเข้าไปรบในเวียดนามแต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะส่วนใหญ่เวียดนามเหนือและเวียดกงรบแบบกองโจร ลอบวางระเบิดและซุ่มโจมตี ทำให้ทหารเวียดนามใต้และทหารนาวิกโยธินสหรัฐเสียชีวิตจำนวนมาก จึงใช้การปราบปรามอย่างรุนแรง เช่น  ยิงทิ้งผู้ที่คาดว่าเป็นเวียดกง การเผาทำลายหมู่บ้าน ตลอกจนการทิ้งระเบิดปูพรมตามจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น เมืองท่าและชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา เพื่อตัดเส้นทางการลำเลียงทหารและอาวุธจากเวียดนามเหนือสู่เวียดนามใต้ผ่านทางกัมพูชา ทำให้เกิดความเสียหายต่อพลเรือนจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ทั่วโลกประนามการกระทำของสหรัฐ

CIA ของสหรัฐยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลเวียดนามใต้บ่อยครั้ง แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการคอรับชั่นในรัฐบาลที่ตั้งขึ้นได้ ทำให้งบประมาณที่สหรัฐให้ไปปรับปรุงกองทัพหรือพัฒนาชนบท กลับไปตกอยู่ในมือของข้าราชการระดับสูงและนายทหารของเวียดนามใต้ การรบในเวียดนามซึ่งทำให้สหรัฐสูญเสียทหารจำนวนมาก เพราะไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศและมีความกดดันจากการเผชิญกับเวียดกงที่รบในประเทศตนเอง ยากต่อการเอาชนะ   
       คนหนุ่มสาวในสหรัฐจึงเดินขบวนเรียกร้องสันติภาพทั่วประเทศ เรียกร้องให้ถอนทหารจากสงครามเวียดนาม   เมื่อมีการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีจอห์นสันจึงไม่ลงสมัครอีก ทำให้นิกสันซึ่งเสนอนโยบายถอนทหารสหรัฐออกจากเวียดนามและลดบทบาททางทหารทั่วโลกได้รับชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนต่อมา นิกสันจึงเจรจากับจีน สนับสนุนโยบายจีนเดียวแลกกับการให้จีนยอมรับการถอนทหารจากเวียดนามตั้งแต่ ค.ศ. 1973  หลังจากนั้นสหรัฐได้ตกลงถอนทหารจนสิ้นสุดในเดือนเมษายน 1975 กองทัพเวียดนามเหนือเข้ายึดครองไซง่อนได้สำเร็จและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น โฮชิมินห์ซิตี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น